ผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Species of Garra (Cyprinidae: Labeoninae) in the Salween River basin with description of an enigmatic new species from the Ataran River drainage of Thailand and Myanmar ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Zootaza (Published : 30 June 2023)
22 สิงหาคม 2566
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หนึ่งในผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Species of Garra (Cyprinidae: Labeoninae) in the Salween River basin with description of an enigmatic new species from the Ataran River drainage of Thailand and Myanmar ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Zootaza (Published : 30 June 2023) ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล ISI Quartile 3 / SJR Quartile 2
สามารถอ่านเพิ่มเติมและดาวน์โหลดโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ได้ที่ https://www.biotaxa.org/Zoo.../article/view/zootaxa.5311.3.3
งานวิจัยฉบับสมบูรณ์ชิ้นนี้ชื่อ Species of Garra (Cyprinidae: Labeoninae) in the Salween River basin with description of an enigmatic new species from the Ataran River drainage of Thailand and Myanmar โดยปลาเลียหินหางแดง เป็นปลาสวยงามจากแม่น้ำในเทือกเขาตะนาวศรีในประเทศเมียนมา และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในต่างประเทศ มามากกว่า 20 ปี สำหรับในประเทศไทยปลาชนิดนี้พบได้เฉพาะที่แม่น้ำกษัตย์ จังหวัดกาญจนบุรีบริเวณชายแดนเท่านั้น
ปลาดูดทรายหางแดงมีลักษณะเด่นซึ่งทำให้สามารถแยกออกจากปลาดูดทรายชนิดอื่น โดยมีลำตัวท้ายครีบก้นมีสีแดง และมี Snout ที่ยาว ซึ่งมี Tubercle กระจายตัวสม่ำเสมอ
สำหรับชื่อวิทยาศาสตร์ Garra panitwongi ตั้งเพื่อให้เป็นเกียรติแก่ ดร. นณณ์ ผาณิตวงศ์ นักวิชาการอิสระด้านระบบนิเวศน้ำจืด และผู้ก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม (siamensis.org) และเป็นผู้ประพันธ์หนังสือ ปลาน้ำจืดไทย
สำหรับตัวอย่างปลาต้นแบบ (Holotype) ซึ่งเก็บได้จากแม่น้ำกษัตริย์ จังหวัดกาญจนบุรีนั้น ทางคณะผู้วิจัยจะส่งมอบเพื่อขึ้นทะเบียนและเก็บรักษาไว้ที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จังหวัดปทุมธานี เพื่อให้เป็นสมบัติของชาติและเป็นประโยชน์ต่อนักวิชาการที่ต้องการศึกษาวิจัยต่อยอดในอนาคต
22 สิงหาคม 2566