ผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Comparison of proteomic profiles and biological properties for corneal wound healing of canine amniotic membrane and its extracts ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Veterinary Ophthalmology (Published : 30 July 2024)
7 สิงหาคม 2567
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มช.
หนึ่งในผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Comparison of proteomic profiles and biological properties for corneal wound healing of canine amniotic membrane and its extracts ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Veterinary Ophthalmology (Published : 30 July 2024) ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล ISI Quartile 2 (Journal Impact factor 1.7), SJR Quartile 1, Scopus Quartile 1
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1111/vop.13255
งานวิจัยเรื่อง Comparison of proteomic profiles and biological properties for corneal wound healing of canine amniotic membrane and its extracts เป็นการศึกษาเปรียบเทียบองค์ประกอบโปรตีนในเยื่อหุ้มตัวอ่อนสุนัข (canine amniotic membrane) ด้วยวิธีโปรตีโอมิกส์ พบว่าในเยื่อหุ้มตัวอ่อนสุนัขมีโปรตีนหลายชนิด ซึ่งสามารถแบ่งโปรตีนออกตามคุณสมบัติในการออกฤทธิ์ ได้แก่ โปรตีนที่มีคุณสมบัติในการต้านอักเสบ (anti-inflammatory) ต้านการเกิดแผลเป็น (anti-fibrosis) ต้านจุลชีพ (anti-microbial) ต้านการสร้างหลอดเลือด (anti-angiogenic) กระตุ้นการสร้างเซลล์เยื่อบุผิว (promotion of epithelialization) ลดอาการเจ็บปวด (analgesia) และส่งเสริมการยึดเกาะและการเจริญเติบโตของเซลล์ (support cell adhesion and growth) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการหายของแผล รวมถึงแผลที่กระจกตาด้วย นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาองค์ประกอบโปรตีนในเยื่อหุ้มตัวอ่อนสุนัขในรูปแบบสารสกัดน้ำ และสารสกัดน้ำระเหยเป็นผงแห้ง โดยพบว่ามีองค์ประกอบของโปรตีนที่มีคุณสมบัติช่วยกระบวนการหายของแผล รวมถึงแผลที่กระจกตา จึงมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาเยื่อหุ้มตัวอ่อนสุนัขเป็นรูปแบบยาหยอดตาต่อไป
7 สิงหาคม 2567