สัตวแพทย์หญิงสราลี ศรีวรกุล
ศูนย์ชันสูตรโรคสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ : saralee.s@cmu.ac.th
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเลี้ยงสัตว์เป็นเพื่อนในปัจจุบันได้รับความนิยมในยุคสมัยนี้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมว กระต่าย นก หนูแฮมเตอร์ หรือสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษต่าง ๆ เช่น กิ้งก่า เต่า หรืองู ซึ่งสัตว์เลี้ยงเหล่านี้เมื่อถูกนำมาเลี้ยงก็ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในครอบครัวไปโดยปริยายที่มีความรัก ความผูกพัน และเกิดเป็นมิตรภาพระหว่างคนและสัตว์อย่างสวยงาม แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกล้วนเกิดมาแล้วมีเพียงชีวิตเดียว มีเกิด แก่ เจ็บ และตาย ทำให้ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียคนในครอบครัว คนรัก รวมไปถึงสัตว์เลี้ยงก็ทำให้เกิดความทุกข์ และความเศร้าใจขึ้นภายในครอบครัวเป็นธรรมดา
งานบริการใหม่ของศูนย์ชันสูตรโรคสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงเกิดขึ้นในชื่อ Love Afterlife Diamond of the Memory ในความเข้าใจที่ว่าแม้สัตว์เลี้ยงแสนรักจะจากไปแต่ตัวแทนแห่งความรักและความคิดถึงจะยังคงอยู่กับตัวของเจ้าของได้ต่อไป แต่เปลี่ยนไปในรูปแบบของอัญมณีอันทรงคุณค่าทางจิตใจ ซึ่งงานบริการนี้จะใช้เถ้ากระดูกสัตว์ ขน หรือเล็บของสัตว์เลี้ยงในปริมาณที่เล็กน้อย เช่น เถ้ากระดูกสัตว์อย่างน้อย 10 กรัม ขนสัตว์หรือเล็บสัตว์อย่างน้อย 5 กรัม เพื่อส่งเข้ากระบวนการหลอมแก้วคริสตัลด้วยวิธีการหลอมแก้วแบบดั้งเดิม (conditional melt quenching method) จนได้เป็นแก้วคริสตัลที่มีส่วนผสมของเถ้ากระดูกสัตว์ ขนหรือเล็บของสัตว์เลี้ยงนั่นเอง ดังนั้นจึงขออธิบายขั้นตอนการหลอมแก้วจากเถ้ากระดูกสัตว์ให้อย่างกระชับ ดังนี้
ทั้งนี้หากเจ้าของสัตว์เลี้ยงท่านใดสนใจงานบริการ Love afterlife สามารถติดต่อมายังศูนย์ชันสูตรโรคสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทุกวัน ในช่วงเวลา 08.30-16.30 น. โทร 053-948041 หรือไลน์ @vrq8141n เพื่อสอบถามรายละเอียดงานบริการและโปรโมชั่นต่าง ๆ
ขอขอบคุณ ดร.มัลลิกา คำหน้อย ที่ให้ความอนุเคราะห์ภาพและขั้นตอนการหลอมแก้วคริสตัล
ภาพประกอบ
ภาพที่ 1 แสดงขั้นตอยการบดเถ้ากระดูกเพื่อนำไปผสมกับสารตั้งต้น
ภาพที่ 2 เถ้ากระดูกที่ได้รับการบดเรียบร้อยแล้วก่อนจะนำไปผสมกับสารตั้งต้น
ภาพที่ 3 ชั่งปริมาณของเถ้ากระดูกให้ตรงตามสัดส่วนของสารที่ผสมเป็นแก้วคริสตัล
ภาพที่ 4 นำสารตั้งต้นและเถ้ากระดูกที่บดแล้วไปหลอมที่อุณหภูมิ 1,450 องศาเซลเซียส แช่เป็นเวลา 2 ชั่วโมงในถ้วยหลอมอะลูมินา (Al2O3 crucible)
ภาพที่ 5.1 การทำให้สารหลอมเหลวเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว (quenched) โดยการเทน้ำแก้วอุณหภูมิ 1,450 องศาเซลเซียส ลงในโมลแม่พิมพ์ทองเหลือง
ภาพที่ 5.2 การทำให้สารหลอมเหลวเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว (quenched) โดยการเทน้ำแก้วอุณหภูมิ 1,450 องศาเซลเซียส ลงในโมลแม่พิมพ์ทองเหลือง
ภาพที่ 5.3 การทำให้สารหลอมเหลวเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว (quenched) โดยการเทน้ำแก้วอุณหภูมิ 1,450 องศาเซลเซียส ลงในโมลแม่พิมพ์ทองเหลือง
ภาพที่ 6 การนำแก้วเข้าเตาอบแก้ว (Annealing) ที่อุณหภูมิ 450 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง เพื่อลดความเครียดทีเกิดขึ้นภายในแก้ว
ภาพที่ 7 แก้วคริสตัลที่หลอมแล้วก่อนนำไปเจียระไน
ภาพที่ 8 แผนผังแสดงเงื่อนไขของอุณหภูมิที่ใช้ในการหลอมแก้วคริสตัล
ภาพที่ 9 ถ้วยหลอมอะลูมินา (Al2O3 crucible)
ภาพที่ 10 ตัวอย่างแหวนที่ทำจากแก้วคริสตัลที่หลอมขึ้นจากเถ้ากระดูกสัตว์เลี้ยง
25 ตุลาคม 2566
27 กันยายน 2566
30 มิถุนายน 2566
31 พฤษภาคม 2566
30 เมษายน 2566
31 มีนาคม 2566