- ปริญญาตรี สัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต (สพ.บ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีพ.ศ. 2537
- ปริญญาโท พ.ศ. 2542 Master of Science (M.Sc.) Faculty of Veterinary Medicine, Swedish University of Agricultural Sciences, Uppsala, ประเทศสวีเดน
- ปริญญาเอก สัตวแพทยศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตของเยอรมันนี (Dr.Med.Vet.) Faculty of Veterinary Medicine, Freie Universität Berlin สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
|
- เริ่มทำงานในตำแหน่ง นายสัตวแพทย์และผู้จัดการฟาร์มโคนมเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ขณะนั้นเป็นฟาร์มโคนมที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ปี พ.ศ.2537
- รับราชการตำแหน่งอาจารย์ สาขาคลินิกสัตว์เคี้ยวเอื้อง ภาควิชาคลินิกสัตว์บริโภคปี พ.ศ.2540
- เป็นผู้อำนวยการสถานวิชาการภูมิภาคสัตวแพทย์สาธารณสุขพ.ศ. 2549 -2550
- ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ 2 สมัย( 25 มี.ค. 2557 – 24 มี.ค.2565)
|
- ที่ปรึกษาในการให้คำแนะนำแก่สหกรณ์โคนม ในจังหวัดลำพูน และจังหวัดเชียงใหม่
- งานบริการวิชาการแก่ชุมชนในโครงการ การจัดการปัญหาสุนัขในเขตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แบบมีส่วนร่วมจากชุมชนอย่างยั่งยืนโดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ ร่วมกับกองกลาง สำนักงานมหาวิทยาลัย
- งานการบริการวิชาการแก่ชุมชนในโครงการ “ระบบการตรวจวินิจฉัยเชื้อแบคทีเรียก่อโรคเต้านมอักเสบในโคนมของฟาร์มโคนมเกษตรกรรายย่อย ในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน”
- งานบริการวิชาการแก่ชุมชนในโครงการ “EXTENDED-SPECTRUM BETA-LACTAMASE PRODUCING Escherichia coli IN PIG FARMS IN NAN, THAILAND”
- การบริหารงานภายใต้สถานการณ์โรคระบาดสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ครั้งแรกในปี 2563 กระทบต่อการบริหารจัดการคณะสัตวแพทยศาสตร์อย่างมาก คณะฯ ได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการหลักในด้านการจัดการเรียนการสอนเป็นระบบ Online ผลิตสื่อการสอน Online พัฒนาอาจารย์ในการสอนด้วยระบบ Online จัดซื้ออุปกรณ์เพื่อรองรับการเรียนการสอนในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และเยียวยานักศึกษาด้วยการลดค่าธรรมเนียมการศึกษา จัดสรรทุนการศึกษา ปรับเปลี่ยนกระบวนการด้านการบริการสุขภาพสัตว์ โดยจัดระเบียบและแนวปฏิบัติในการรักษาพยาบาล จัดสรรงบประมาณเพื่อซื้ออุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดต่อ และปรับเปลี่ยนวิธีการสัมมนาวิชาการโดยการใช้การผสมผสาน webinar ร่วมกับ small group practice (skill) ในการประชุมวิชาการคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2563
- การดำเนินการก่อสร้างศูนย์สุขภาพสัตว์แห่งใหม่ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มุ่งมั่นที่จะเป็นโรงพยาบาลรองรับการรักษาเฉพาะทางและการส่งต่อระดับภาคเหนือ และศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการบริการสุขภาพสัตว์ ซึ่งคณะฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารศูนย์สุขภาพสัตว์แห่งใหม่ ภายใต้วงเงินงบประมาณก่อสร้าง 270,000,000 บาท ตั้งแต่ปี 2562-2565 ปัจจุบันการก่อสร้างก้าวหน้าตามลำดับคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566
- ก่อสร้าง 270,000,000 บาท ตั้งแต่ปี 2562-2565 ปัจจุบันการก่อสร้างก้าวหน้าตามลำดับคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566
- คณบดีที่ให้ความสำคัญกับงานบริการรับใช้สังคม เน้นเกษตรกรรายย่อยหรือภาคประชาชน
|