งานวิจัย

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Physiological changes in captive elephants in northern Thailand as a result of the COVID-19 tourism ban—stress biomarkers ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Frontiers in Veterinary Science (Published : 9 February 2024)

12 กุมภาพันธ์ุ 2567


คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หนึ่งในผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Physiological changes in captive elephants in northern Thailand as a result of the COVID-19 tourism ban—stress biomarkers ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Frontiers in Veterinary Science (Published : 9 February 2024) ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล ISI tier 1 (Journal Impact factor 3.2), SJR Quartile 1, Scopus Quartile 1

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://doi.org/10.3389/fvets.2024.1351361

งานวิจัยเรื่อง Physiological changes in captive elephants in northern Thailand as a result of the COVID-19 tourism ban—stress biomarkers เป็นการศึกษาสวัสดิภาพช้างผ่านตัวชี้วัดฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ในอุจจาระ [fecal glucocorticoid metabolites (fGCM)] ความเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) [malondialdehyde (MDA) และ 8-hydroxy-2'-deoxyguanosine (8-OHdG)] การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของเม็ดเลือดขาวอันเป็นผลมาจากการเหนี่ยวนำของสเตียรอยด์ (stress leukograms) [heterophilia, monocytosis, lymphocytosis และ eosinopenia] และ heterophil/lymphocyte (H/L) ratio] การศึกษานี้พบว่า ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ในอุจจาระ (fGCM) เพิ่มขึ้นภายใน 2-3 เดือนแรกและยังคงสูงกว่าระดับก่อนเกิดโควิด-19 เช่นเดียวกับอัตราส่วนระหว่างเม็ดเลือดขาวชนิดเฮทเทอโรฟิลและเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ [heterophil/lymphocyte (H/L) ratio] เป็นผลกระทบมาจากฮอร์โมนความเครียด สารอนุมูลอิสระ 8-OHdG เป็นตัวบ่งชี้ความเสียหายของสารพันธุกรรมเพิ่มขึ้น ในขณะที่ภาวะ monocytosis และภาวะ eosinopenia มีการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอันเป็นผลมาจากความเครียด ในทางตรงกันข้ามความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันคือ MDA ในซีรั่มลดลง อาจเป็นผลจากการลดปริมาณอาหารหยาบและอาหารเสริม การศึกษานี้แตกต่างจากการศึกษาอื่น ๆ ของประชากรกลุ่มนี้คือ รูปแบบตามฤดูกาลของ fGCM แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ พบว่า fGCM สูงขึ้นในช่วงฤดูฝน แต่การศึกษาก่อนหน้านี้ fGCM จะสูงที่สุดในฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงฤดูท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม การมีและไม่มีนักท่องเที่ยวมีความเกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของ fGCM ที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันก็ตาม นอกจากนี้วิกฤติโควิด-19 ยังส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพสัตว์อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านโภชนาการ สุขภาพ การออกกำลังกาย และจำนวนควาญช้าง ผลการศึกษานี้ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาแผนการจัดการและแนวทางที่ดีขึ้นสำหรับปางช้างในประเทศไทย เพื่อให้สามารถรับมือกับโรคระบาดในปัจจุบันและอนาคตที่อาจเกิดขึ้นส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง การศึกษาเพิ่มเติมต่อจากนี้ควรมีการวัดตัวบ่งชี้ด้านสุขภาพและสวัสดิภาพที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากโรคโควิด-19 เมื่อการจัดการปางช้างเปลี่ยนแปลงไปจะส่งผลกระทบด้านสุขภาพและสวัสดิภาพของช้างและสามารถใช้เป็นแบบจำลองสำหรับการจัดการต่อโรคระบาดในอนาคตได้


12 กุมภาพันธ์ุ 2567

ที่อยู่155 หมู่ 2 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100
2023 Copyright By VMCMU
053-948002 , Fax.053-948065