ประวัติการศึกษา | ประวัติการทำงานแบบย่อ | ผลงานโดดเด่น |
- ปริญญาตรี : สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีพ.ศ. 2510 - ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จาก the Royal Veterinary College, Stockholm, Sweden (P.G.Dilploma in Veterinary Pathology) - ปริญญาเอก: สัตวแพทยศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต จากเยอรมันนีทางด้านพยาธิวิทยาการสัตวแพทย์ (Veterinary Pathology) College of Veterinary Medicine, Hannover, Germany - ปี พ.ศ. 2559 ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
- เริ่มรับราชการครั้งแรก สังกัดคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในตำแหน่งอาจารย์ เมื่อปี พ.ศ. 2510 และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2518 และเป็นรองศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2528 - ป็นผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2536 - ป็นคณบดีคนแรก ในปี พ.ศ. 2537 ถึงปี พ.ศ. 2544 ต่อมาจึงโอนย้ายมาสังกัดมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี - จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2552 ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงในปี พ.ศ. 2554 – เมษายน 2562 เป็นที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
- ปี พ.ศ. 2537 – 2544 เป็นผู้นำในการดำเนินการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นคณบดีผู้ก่อตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - สร้างความพร้อมพื้นฐาน อาคาร ครุภัณฑ์ แสวงหาคนที่มีความรู้ความสามารถมาสู่ทีม โดยเฉพาะหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่แตกต่างกับมหาวิทยาลัยอื่น โดยนำ Problem-Based Learnning( PBL) จากต่างประเทศมาใช้ (ตามปรัชญา จากนานาชาติ --- > ท้องถิ่น) - ในช่วงระหว่างดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2542 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะทำงานฝ่ายสัตวแพทย์เพื่อดำเนินการผ่าตัดรักษาเท้าของช้างโม่ตาลา ซึ่งได้รับอุบัติเหตุจากการเหยียบกับระเบิดในเขตชายแดนประเทศพม่า และได้รับการรักษาที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นกรณีตัวอย่างด้าน animal welfare ที่ทั่วโลกให้ความสนใจ และเป็นรายแรกของโลกที่ได้รับการผ่าตัดเป็นผลสำเร็จ - ปี 2544 ได้รับการคัดเลือกโดย สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็น “สัตวแพทย์ตัวอย่างของประเทศประจำปี 2544 สายงานเผยแพร่วิชาชีพ และบริการสังคม” - ปี 2556 ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2556 จากสมาคมนิสิตเก่าคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “สาขาสัตวแพทย์อาวุโสดีเด่น” - ปี 2559 ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสัตวแพทยศาสตร์จากหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ประวัติการศึกษา | ประวัติการทำงานแบบย่อ | ผลงานโดดเด่น |
- ปริญญาตรี : สัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต(สพ.บ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี พ.ศ.2523 - ประกาศนียบัตรชั้นสูง Swedish University of Agricultural Sciences, สวีเดน ปี 2526 - ปริญญาเอก : ส้ตวแพทยศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต ของสวีเดน Ph.D.(Veterinary Medicine), Swedish University of Swedish, Sweden |
- เริ่มรับราชการในตำแหน่ง อาจารย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี.พ.ศ.2523 - บราชการตำแหน่ง อาจารย์ สาขาวิชาคลินิกสัตว์เคี้ยวเอื้อง ภาควิชาคลินิกสัตว์บริโภค และดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีพ.ศ.2539 - คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ ปี พ.ศ. 2545 - ปัจจุบันปี 2566 ดำรงตำแหน่งคณบดีวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
- ผลงานในฟาร์มควบคู่กับการให้ความรู้ที่ปฏิบัติได้ผลจริง ทำให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตของโคในฟาร์ม ได้ถึง 2-6 กก. ต่อตัวต่อวัน ในหลายฟาร์ม - ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนก - รับพระราชทานรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ แก่วงการเลี้ยงโคนมและอุตสาหกรรมนม - รางวัล อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ พ.ศ. 2551 - รางวัล อาจารย์ดีเด่น “ช้างทองคำ” สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่ พ.ศ. 2551 - ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง นายกสัตวแพทยสภา พ.ศ. 2555-2558 - สัตวแพทย์ตัวอย่าง สมาคมนิสิตเก่า คณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พ.ศ. 2557 |
ประวัติการศึกษา | ประวัติการทำงานแบบย่อ | ผลงานโดดเด่น |
- ปริญญาตรี สัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต (สพ.บ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีพ.ศ. 2522 - สัตวแพทยศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตของเยอรมันนี (Dr.Med.Vet) จากสถาบันปรสิตวิทยาและเวชศาสตร์การสัตว์เขตร้อน คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟรายเออเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมั |
- เริ่มรับราชการในตำแหน่ง นายสัตวแพทย์ ผู้ควบคุมงานผสมเทียมและงานพัฒนา สุขภาพสัตว์ โครงการพัฒนาการปศุสัตว์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (World Bank Project) กรมปศุสัตว์ - รับราชการตำแหน่งอาจารย์ สาขาวิชาสัตวแพทยสารณสุข ภาควิชาชีวศาสตร์ทางสัตวแพทยศาสตร์สาธารณสุขปี พ.ศ. 2538 และดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายแผนงานและพัฒนา - ผู้ก่อตั้งและดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานวิชาการภูมิภาคสัตวแพทย์สาธารณสุข ปี พ.ศ.2541 - ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ 2 สมัย (25 มีค 2549-24มีค 2557) - ปัจจุบันปี 2566 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (PODD Centre) |
- ความร่วมมือจัดการเรียนการสอนและมอบปริญญามหาบัณฑิตทางสัตวแพทย์สาธารณสุขนานาชาติในลักษณะที่ร่วมกันจัดการเรียนการสอนและร่วมออกใบปริญญาบัตรที่ EU รับรอง เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในวงวิชาการของประเทศ ที่นับเป็นนวัตกรรมทางวิชาการระหว่าง มหาวิทยาลัยฟรีเบอร์ลินและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เกิดจากวิสัยทัศน์มองการณ์ไกล เพื่อการเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเชื่อมโยงกระทบต่อกันอย่างรวดเร็วของโลกปัจจุบัน ที่ไม่เพียงแต่สร้างรากฐานทางวิชาการด้านสัตวแพทย์สาธารณสุข และอาหารปลอดภัยเท่านั้น ยังมีส่วนสำคัญทำให้คณะสัตวแพทยศาสตร์ มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักในระดับเอเชียแปซิฟิก และนานาชาติ ทำให้เกิดเครือข่ายศิษย์เก่านานาชาติ จำนวน 92 คน จาก 15 ประเทศ การสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาต่างชาติ จนได้รับแต่งตั้งให้ เป็นศูนย์ OIE Collaborating Center for Veterinary Service Capacity Building แห่งเดียวในอาเซียนในการพัฒนาความเข้มแข็ง และเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรทางด้านสัตวแพทย์ทั้งระดับประเทศและระดับระหว่างประเทศการจัดสัมมนานานาชาติ มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 400 คน จาก 17 ประเทศ ทำให้คณะสัตวแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับเลือกให้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งเป็นที่ตั้งของสำนักงาน และดำรงตำแหน่งประธานในวาระของประเทศไทย เครือข่ายมหาวิทยาลัย SEAOHUN ในเวลาเดียวกันด้วยพื้นฐานวิชาการทางสัตวแพทย์สาธารณสุขและด้านสุขภาพหนึ่งเดียว กับการเป็นที่รู้จักยอมรับในระดับนานาชาติทำให้มีโอกาสเสนอแนวคิดการมีส่วนร่วมและการเป็นเจ้าของระบบจัดการเฝ้าระวังโรคระบาดอุบัติใหม่ของชุมชน ทำให้ได้รับทุนพัฒนาเครื่องมือดิจิตอลมากกว่า 4 ล้านเหรียญอเมริกันจากมูลนิธิ Skoll ในเวลา 5 ปี นำไปสู่การพัฒนาและพิสูจน์ผลการใช้งานระบบดิจิทัลเฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียวของชุมชน PODD นวัตกรรมการป้องกันเชื้อโรคอุบัติใหม่จากสัตว์สู่มนุษย์ เพื่อเตรียมพร้อมและแก้ปัญหาโรคระบาดอุบัติใหม่ข้ามทวีป ทำให้แนวคิดชุมชนเป็นเจ้าของระบบ วิธีการ และเครื่องมือที่เป็นระบบดิจิทัล นี้เป็นที่รู้จักได้รับรางวัล และการอ้างอิงทั้งในระดับประเทศและระดับโลกจากหน่วยงานที่มีชื่อเสียง อาทิ กรมควบคุมโรค ASEAN ICT Award , G20 Health Innovation Report, PMAC 2018 - คณบดีที่มีแนวคิดใหม่ๆ มุ่งพาคณะไปสู่ระดับสากล โดยความร่วมมือเครื่อข่ายต่างประเทศ ผ่านหลักสูตร(นานาชาติ) การบริการวิชาการ และวิจัย |
ประวัติการศึกษา | ประวัติการทำงานแบบย่อ | ผลงานโดดเด่น |
- ปริญญาตรี สัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต (สพ.บ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีพ.ศ. 2537 - ปริญญาโท พ.ศ. 2542 Master of Science (M.Sc.) Faculty of Veterinary Medicine, Swedish University of Agricultural Sciences, Uppsala, ประเทศสวีเดน - ปริญญาเอก สัตวแพทยศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตของเยอรมันนี (Dr.Med.Vet.) Faculty of Veterinary Medicine, Freie Universität Berlin สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี |
- เริ่มทำงานในตำแหน่ง นายสัตวแพทย์และผู้จัดการฟาร์มโคนมเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ขณะนั้นเป็นฟาร์มโคนมที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ปี พ.ศ.2537 - รับราชการตำแหน่งอาจารย์ สาขาคลินิกสัตว์เคี้ยวเอื้อง ภาควิชาคลินิกสัตว์บริโภคปี พ.ศ.2540 - เป็นผู้อำนวยการสถานวิชาการภูมิภาคสัตวแพทย์สาธารณสุขพ.ศ. 2549 -2550 - ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ 2 สมัย( 25 มี.ค. 2557 – 24 มี.ค.2565) |
- ที่ปรึกษาในการให้คำแนะนำแก่สหกรณ์โคนม ในจังหวัดลำพูน และจังหวัดเชียงใหม่ - งานบริการวิชาการแก่ชุมชนในโครงการ การจัดการปัญหาสุนัขในเขตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แบบมีส่วนร่วมจากชุมชนอย่างยั่งยืนโดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ ร่วมกับกองกลาง สำนักงานมหาวิทยาลัย - งานการบริการวิชาการแก่ชุมชนในโครงการ “ระบบการตรวจวินิจฉัยเชื้อแบคทีเรียก่อโรคเต้านมอักเสบในโคนมของฟาร์มโคนมเกษตรกรรายย่อย ในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน” - งานบริการวิชาการแก่ชุมชนในโครงการ “EXTENDED-SPECTRUM BETA-LACTAMASE PRODUCING Escherichia coli IN PIG FARMS IN NAN, THAILAND” - การบริหารงานภายใต้สถานการณ์โรคระบาดสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ครั้งแรกในปี 2563 กระทบต่อการบริหารจัดการคณะสัตวแพทยศาสตร์อย่างมาก คณะฯ ได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการหลักในด้านการจัดการเรียนการสอนเป็นระบบ Online ผลิตสื่อการสอน Online พัฒนาอาจารย์ในการสอนด้วยระบบ Online จัดซื้ออุปกรณ์เพื่อรองรับการเรียนการสอนในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และเยียวยานักศึกษาด้วยการลดค่าธรรมเนียมการศึกษา จัดสรรทุนการศึกษา ปรับเปลี่ยนกระบวนการด้านการบริการสุขภาพสัตว์ โดยจัดระเบียบและแนวปฏิบัติในการรักษาพยาบาล จัดสรรงบประมาณเพื่อซื้ออุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดต่อ และปรับเปลี่ยนวิธีการสัมมนาวิชาการโดยการใช้การผสมผสาน webinar ร่วมกับ small group practice (skill) ในการประชุมวิชาการคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2563 - การดำเนินการก่อสร้างศูนย์สุขภาพสัตว์แห่งใหม่ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มุ่งมั่นที่จะเป็นโรงพยาบาลรองรับการรักษาเฉพาะทางและการส่งต่อระดับภาคเหนือ และศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการบริการสุขภาพสัตว์ ซึ่งคณะฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารศูนย์สุขภาพสัตว์แห่งใหม่ ภายใต้วงเงินงบประมาณก่อสร้าง 270,000,000 บาท ตั้งแต่ปี 2562-2565 ปัจจุบันการก่อสร้างก้าวหน้าตามลำดับคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566 - ก่อสร้าง 270,000,000 บาท ตั้งแต่ปี 2562-2565 ปัจจุบันการก่อสร้างก้าวหน้าตามลำดับคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566 - คณบดีที่ให้ความสำคัญกับงานบริการรับใช้สังคม เน้นเกษตรกรรายย่อยหรือภาคประชาชน |