ผู้บริหาร และคณาจารย์ คณะสัตวแพทย์ฯ ให้การต้อนรับ Dr. Peter Leimgruber, Director of Smithsonian Conservation Biology Institute(SCBI) พร้อมผู้เชี่ยวชาญในโอกาสเข้าดำเนินงานวิจัยโดยติดตั้งเครื่องฟังหัวใจช้าง Elephant Biologger เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567
17 กุมภาพันธ์ุ 2567
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร.น.สพ.กรกฎ งานวงศ์พาณิชย์ คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วย รศ.ดร.น.สพ.ฉัตรโชติ ทิตาราม รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและวิเทศสัมพันธ์ รศ.ดร.สพ.ญ.จารุวรรณ คนมี และ ผศ.ดร.น.สพ.วรพัฒน์ ประชาศิลป์ชัย อาจารย์ประจำสำนักวิชาสัตวแพทยศาสตร์ ให้การต้อนรับ Dr. Peter Leimgruber, Director of Smithsonian Conservation Biology Institute (SCBI) ดร.สพ.ญ.นุชรินทร์ ศงสะเสน Head of Center for Species Survival และ Dr. Rosana Moraes นักวิจัย Smithsonian Conservation Biology Institute (SCBI) ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมด้วย Dr. Tim Laske Vice President, Research & Business Development จากบริษัท Medtronic ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ณ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิยาลัยเชียงใหม่ ในโอกาสเข้าดำเนินงานวิจัยโดยติดตั้งเครื่องฟังหัวใจช้าง Elephant Biologger ในพื้นที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง
การวิจัยข้างต้น เป็นความร่วมมือกันซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง Smithsonian Conservation Biology Institute (SCBI) ประเทศสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย เพื่อศึกษากลไกทางสรีรวิทยาของช้าง ผ่านการสังเกตจังหวะการเต้นของหัวใจช้างในแต่ละช่วงเวลาขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นถึงภาวะความเครียด ความสุข ความสามารถในการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมของช้างได้ โดยผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลจัดการสุขภาพและสวัสดิภาพของช้างเลี้ยง รวมถึงช้างป่าในอนาคต
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ facebook คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
17 กุมภาพันธ์ุ 2567