ผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Characteristics of gut microbiota in captive Asian elephants (Elephas maximus) from infant to elderly ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Scientific Reports (Published : 27 December 2023)
5 มกราคม 2567
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หนึ่งในผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Characteristics of gut microbiota in captive Asian elephants (Elephas maximus) from infant to elderly ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Scientific Reports (Published : 27 December 2023) ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล ISI Quartile 2 (Journal Impact factor 4.6), SJR Quartile 1, Scopus Quartile 1
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://doi.org/10.1038/s41598-023-50429-1
งานวิจัยเรื่อง Characteristics of gut microbiota in captive Asian elephants (Elephas maximus) from infant to elderly เป็นการศึกษาจุลินทรีย์ในลำไส้ (Gut microbiota) ของช้างเลี้ยงเอเชียตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชราโดยวิธี 16S rRNA sequencing จากตัวอย่างอุจจาระช้างที่มีสุขภาพดีจำนวนทั้งหมด 134 เชือก โดยพบว่าจุลินทรีย์ในลำไส้ของช้างแต่ละช่วงวัยมีโครงสร้างแตกต่างกัน โดยช้างวัยเด็ก (อายุระหว่าง 2 เดือน) มีความหลากหลายของจุลินทรีย์ในลำไส้ต่ำที่สุด องค์ประกอบของจุลินทรีย์ในลำไส้ยังคงสม่ำเสมอและมีเสถียรภาพจนกระทั่งช่วงโตเต็มวัย (อายุระหว่าง 10 ถึง 55 ปี) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในช้างสูงอายุ (อายุระหว่าง 10 ถึง 55 ปี) และลดลงเล็กน้อยในช่วงสูงวัย (อายุมากกว่า 55 ปี)
จุลินทรีย์ในลำไส้ที่เป็นองค์ประกอบหลักในทุกกลุ่มประกอบไปด้วย ได้แก่ phylum Firmicutes ตามด้วย Bacteroidetes และ Actinobacteria ตามลำดับ โดยพบว่าจุลินทรีย์ในลำไส้ของลูกช้างประกอบไปด้วยแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหมักย่อยนม เช่น Bifidobacterium และ Akkermansia และมีแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหมักเยื่อใยน้อยกว่าเมื่อเทียบกับช้างช่วงโตเต็มวัย โดยเฉพาะแบคทีเรีย Lachnospiraceae_NK3A20_group พบว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นในช้างหลังจากหย่านม
นอกจากนี้การศึกษานี้ยังได้ทำการหาความสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์ในลำไส้และค่าพารามิเตอร์ของเลือด โดยพบว่าแบคทีเรียใน genus Mycoplasma และ Prevotella มีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับอัลบูมินในซีรั่ม และแบคทีเรียใน family Lactobacillaceae โดยเฉพาะ genus Lactobacillus มีความสัมพันธ์เชิงลบกับโปรตีนทั้งหมดในช้างช่วงโตเต็มวัยและช้างโตเต็มวัย
จุลินทรีย์ในลำไส้มีบทบาทสำคัญต่อร่างกาย โดยช่วยย่อยสลายใยอาหารบางชนิดที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ โดยการหมักใยอาหาร และสร้างเมแทบอไลต์ (metabolite) มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะกรดไขมันสายสั้น (short-chain fatty acids) ซึ่งส่งผลต่อการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย ความเข้าใจในองค์ประกอบและความหลากหลายของจุลินทรีย์ในลำไส้ของช้างตลอดช่วงพัฒนาการต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากภาวะเปลี่ยนแปลงของสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ (dysbiosis) อาจทำให้สรีรวิทยาของระบบทางเดินอาหารบกพร่อง และส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของช้าง การระบุลักษณะของจุลินทรีย์ในลำไส้ทำให้นักวิจัยสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการจัดการอาหารที่เหมาะสมมากขึ้น เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์สำหรับช้างแต่ละตัวในช่วงชีวิตที่แตกต่างกัน
5 มกราคม 2567