งานวิจัย

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มช. Unusual Patterns of Lateral Scutes in Two Olive Ridley Turtles and Their Genetic Assignment to the Thai Andaman Sea Populations of Lepidochelys olivacea Eschscholtz, 1829 ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Biology (Published: 4 July 2024)

13 กรกฎาคม 2567


คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หนึ่งในผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Unusual Patterns of Lateral Scutes in Two Olive Ridley Turtles and Their Genetic Assignment to the Thai Andaman Sea Populations of Lepidochelys olivacea Eschscholtz, 1829 ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Biology (Published: 4 July 2024) ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล ISI Quartile 1 (Journal Impact factor 3.6), SJR Quartile 1, Scopus Quartile 1
.
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.mdpi.com/2079-7737/13/7/500
.
งานวิจัยเรื่อง Unusual Patterns of Lateral Scutes in Two Olive Ridley Turtles and Their Genetic Assignment to the Thai Andaman Sea Populations of Lepidochelys olivacea Eschscholtz, 1829 มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อเป็นการตรวจสอบข้อมูลทางพันธุกรรมและยืนยันชนิดพันธุ์ของเต่าทะเลเกยตื้นสองตัวจากทะเลอันดามันของประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะคล้ายเต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea) แต่มีรูปแบบของเกล็ดกระดองด้านข้าง (lateral scute pattern) แบบสมมาตร 5/5 และไม่สมมาตร 5/6 โดยลักษณะที่พบนั้นแตกต่างไปจากเต่าหญ้าที่พบทั่วไปในบริเวณนี้ อย่างไรก็ตามรูปแบบของเกล็ดกระดองด้านข้างที่พบเป็นลักษณะเด่นของเต่าหญ้าแคมป์ (Lepidochelys kempii) ซึ่งมีการกระจายตัวในมหาสมุทรแอตแลนติกเท่านั้น ในการศึกษานี้ ผู้วิจัยจึงใช้ลักษณะสัณฐานวิทยาร่วมกับเครื่องหมายทางพันธุกรรมสองชนิด ได้แก่ mitochondrial DNA (mtDNA) control region และ nuclear DNA (nDNA) recombination activating gene 2 (RAG2) เพื่อจำแนกชนิดพันธุ์ จากผลการศึกษาพบว่า เต่าทั้งสองตัวมีรูปแบบทางพันธุกรรมของ mtDNA control region ที่ใกล้เคียงกับ L. olivacea มากถึง 99.81–100.00% เช่นเดียวกันกับการการวิเคราะห์ Phylogenetic tree โดยพบว่าเต่าทั้งสองตัวถูกจัดอยู่ในกลุ่ม L. olivacea และแยกออกจาก L. kempii  อย่างชัดเจน โดยผลการศึกษานี้ยังสอดคล้องกับ nDNA RAG2 เนื่องจากมี haplotype RAG2 แบบเดียวกันกับ L. olivacea ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าเต่าทะเลเกยตื้นทั้งสองตัวนี้เป็นเต่าหญ้า L. olivacea ที่มีลักษณะเกล็ดกระดองหายากในทะเลของประเทศไทย


13 กรกฎาคม 2567

ที่อยู่155 หมู่ 2 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100
2023 Copyright By VMCMU
053-948002 , Fax.053-948065