งานวิจัย

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Physiological changes in captive elephants in Northern Thailand as a result of the COVID-19 tourism ban – muscle, liver, metabolic function, and body condition ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Frontiers in Veterinary Science (Published : 21 December 2023)

2 มกราคม 2567


คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หนึ่งในผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Physiological changes in captive elephants in Northern Thailand as a result of the COVID-19 tourism ban – muscle, liver, metabolic function, and body condition ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Frontiers in Veterinary Science (Published : 21 December 2023) ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล ISI tier 1 (Journal Impact factor 3.2), SJR Quartile 1, Scopus Quartile 1

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

https://www.frontiersin.org/.../fvets.2023.1303537/full

งานวิจัยเรื่อง Physiological changes in captive elephants in Northern Thailand as a result of the COVID-19 tourism ban – muscle, liver, metabolic function, and body condition เป็นงานวิจัยที่ศึกษาผลกระทบของโควิดต่อช้างเลี้ยงในจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการจัดการปางช้าง พบว่ามีการลดจำนวนพนักงานทำให้อัตราส่วนของควาญช้างต่อช้างลดลงจาก 1:1 เป็น 1:2 กิจกรรมของช้าง ระยะการเดิน และปริมาณอาหารลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการระบาดของโรคโควิด-19 และจำนวนชั่วโมงล่ามโซ่เพิ่มขึ้นเนื่องจากกิจกรรมที่ลดลง ผลของการจัดการดังกล่าวส่งผลสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ พบการเปลี่ยนแปลงของเอนไซม์ของกล้ามเนื้อ [creatine kinase (CK), aspartate aminotransferase (AST)] ที่ลดลงและตับ [aspartate aminotransferase (AST), alkaline phosphatase (ALP), gamma-glutamyl transferase (GGT)] ที่สูงขึ้น ไขมันในกระแสเลือด [total cholesterol (TC), triglycerides (TG), low density lipoproteins (LDL) และ high density lipoproteins (HDL)] ลดลง และส่งผลต่อการทำงานของระบบเผาผลาญ [กลูโคส (glucose), อินซูลิน (insulin) และฟรุกโตซามีน (fructosamine)] ความเข้มข้นของ CK ในซีรั่มลดลงเนื่องจากไม่มีกิจกรรมท่องเที่ยว เช่น การขี่ช้าง การเปลี่ยนแปลงการทำงานของตับรวมถึง AST และ ALP ที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดจากช้างไม่ได้มีการออกกำลังกาย การให้กล้วยและอ้อยน้อยลงสัมพันธ์กับช้างที่มีภาวะอ้วนน้อยลงและมีความเข้มข้นของ TG ลดลง นอกจากนี้ยังพบการเพิ่มขึ้นของกลูโคส อินซูลิน และฟรุกโตซามีน เนื่องจากนักท่องเที่ยวคนไทยกลับมาให้อาหารช้างหลังจากมีมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ ผลการศึกษานี้จะนำไปใช้ในการพัฒนาแผนการจัดการและแนวทางที่ดีขึ้นสำหรับปางช้างในประเทศไทย เพื่อให้สามารถรองรับกับโรคระบาดในปัจจุบันและอนาคตที่อาจเกิดขึ้นซึ่งส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง การศึกษาเพิ่มเติมต่อจากนี้จะวัดตัวบ่งชี้ด้านสุขภาพและสวัสดิภาพที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการระบาดของโรคโควิด-19 เมื่อการจัดการปางช้างเปลี่ยนแปลงไปจะส่งผลกระทบด้านสุขภาพและสวัสดิภาพของช้าง และสามารถใช้เป็นต้นแบบหรือแบบจำลองสำหรับการจัดการปางช้างเมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นในอนาคตได้


2 มกราคม 2567

ที่อยู่155 หมู่ 2 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100
2023 Copyright By VMCMU
053-948002 , Fax.053-948065