งานวิจัย

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Impact of a combination of pimobendan, furosemide, and enalapril on heart rate variability in naturally occurring, symptomatic, myxomatous mitral valve degeneration dogs ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ BMC Veterinary Research (Published : 12 October 2023)

21 พฤศจิกายน 2566


คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หนึ่งในผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Impact of a combination of pimobendan, furosemide, and enalapril on heart rate variability in naturally occurring, symptomatic, myxomatous mitral valve degeneration dogs ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ BMC Veterinary Research (Published : 12 October 2023) ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล ISI Quartile 1 (Journal Impact factor 2.6), SJR Quartile 1, Scopus Quartile 1 (Top 10% หรือ Tier 1 Journal สาขา General Veterinary)

แผนการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 3 (Sustainable Development Goal 3) : Good Health and Well-being สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคน ในทุกช่วงวัย

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://bmcvetres.biomedcentral.com/.../s12917-023-03770-6

งานวิจัยเรื่อง Impact of a combination of pimobendan, furosemide, and enalapril on heart rate variability in naturally occurring, symptomatic, myxomatous mitral valve degeneration dogs การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินค่าความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rat variability; HRV) ในสุนัขที่เกิดการเสื่อมของลิ้นหัวใจไมตรัลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติแบบแสดงอาการ (MMVD stage C) จำนวน 17 ตัว ต่อการตอบสนองต่อการบำบัดแบบ Triple therapy ประกอบด้วยพิโมเบนดัน (0.25 มก./กก.) อีนาลาพริล (0.5 มก./กก.) และฟูโรเซไมด์ (2 มก./กก.) วันละสองครั้ง จากการศึกษาวิจัยพบว่าก่อนทำการรักษาสุนัขในกลุ่มดังกล่าวมีค่าพารามิเตอร์ HRV ในส่วน Time domain และ Frequency domain ประกอบด้วย LF, HF และ Total frequency ที่ลดลง รวมถึงค่า LF/HF ที่สูงขึ้น ภายหลังจากที่ได้รับการรักษาแบบ Triple therapy เป็นเวลา 6 เดือนค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของ HRV มีค่าที่ดีขึ้น (P <0.05) นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางระหว่างค่าพารามิเตอร์ HRV ในส่วน Time domain และค่า left ventricular internal diastole diameter normalized to body weight (P <0.05) การศึกษาวิจัยนี้จึงสรุปได้ว่าในสุนัขที่มีการเสื่อมของลิ้นหัวใจไมตรัลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จะมีค่า HRV ต่ำเนื่องจากการทำงานที่ลดลงของระบบประสาทพาราซิมพาเทติก และ/หรือการเพิ่มขึ้นของระบบประสาทซิมพาเทติก ซึ่งการบำบัดโดยการใช้ยาร่วมกัน 3 ชนิด ประกอบด้วย pimobendan ยาขับปัสสาวะ และ ACEi สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมการทำงานของหัวใจได้โดยอนุมานได้จากการเพิ่มขึ้นของค่า HRV หรือค่าความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง จึงกล่าวได้ว่าการบำบัดแบบผสมผสานร่วมกันของยา 3 ชนิดนี้อาจมีประโยชน์ในการฟื้นฟูการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติในสุนัขที่เป็น MMVD ระยะ C


21 พฤศจิกายน 2566

ที่อยู่155 หมู่ 2 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100
2023 Copyright By VMCMU
053-948002 , Fax.053-948065